Pages Navigation Menu

สมาพันธ์การแพทย์แผนไทยล้านนา

“ไม่ขี้” ไม่ใช่เรื่องขี้ๆ

อาการของโรคท้องผูกคือ  ถ่ายยาก ถ่ายน้อย  ไม่ถ่ายทุกวัน ลักษณะอุจจาระ เป็นก้อนกลมเล็ก ไม่เป็นลำยาว   อาจทำให้ท่านรู้สึกอึดอัด หงุดหงิด  หากท้องผูกเป็นเวลานานหลายปี จะก่อให้เกิดโรคใหม่โดยที่ท่านไม่รู้ตัว  ทฤษฏีการแพทย์แผนไทยได้กล่าวถึงอาการของโรคที่เกิดใหม่ดังนี้    กินอาหารได้น้อย  นอนไม่หลับ ปวดถ่วง ปวดเมื่อยตัว  แน่นอก   มึนศีรษะ หงุดหงิดง่าย  ร้อนใน แผลในปาก เสียดชายโครงและเสียดท้อง หากท่านมีอาการเหล่านี้ให้พิจารณาว่ามีอาการท้องผูกด้วยหรือไม่  อาการดังกล่าวนับเป็นโรคกษัย (โรคที่เกิดซ้ำๆเป็นเวลานานๆ) ชนิดหนึ่ง  และมักทำให้เกิดโรคริดสีดวงทวารตามมา

4  ต้นเหตุของโรคเกิดจาก การไม่ขับถ่ายทุกวันทำให้เกิดอุจจาระหมักหมมเกาะติดบริเวณผนังลำไส้ เหมือนตะกรันเรียกว่า “เถาดาน”  ทำให้ผนังลำไส้หนาขึ้นในขณะที่ลมเบ่งเพื่อขับอุจจาระออกเท่าเดิม จึงไม่สามารถขับอุจจาระออกได้หมด  เกิดเป็นพิษภัยของอุจจาระที่ค้างในลำไส้  ถ้าอุจจาระค้างอยู่ในลำไส้นานเกิน 24 ชั่วโมงจะบูดและก่อพิษ  ผนังลำไส้จะดูดพิษกลับเข้าสู่ร่างกาย โดยส่วนใหญ่จะเข้าไปในเส้นเอ็น  ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อย   และก่อโรคต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว   นอกจากนี้ โรคท้องผูกยังอาจนำไปสู่โรคร้ายที่ผู้ป่วยเป็นกังวลกันมาก คือ มะเร็งลำไส้ใหญ่   ลำไส้ใหญ่นอกจากขับถ่ายของเสียแล้ว ยังทำหน้าที่ดูดไขมันส่วนเกินออกจากเลือด ถ้าผนังลำไส้ไม่สะอาด ก็ดูดไขมันได้ไม่ดี ทำให้มีไขมันส่วนเกินค้างในเลือด

ในปัจจุบันมีความสนใจขับล้างลำไส้กันมากซึ่งมีหลากหลายวิธี   ในที่นี้จะขอกล่าวถึงการขับล้างลำไส้ด้วยยาสมุนไพร     ชื่อยาธรณีสัณฑฆาต  เป็นยาที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศไว้ในบัญชียาหลักแห่งชาติ สรรพคุณช่วยขับล้างเถาดานในลำไส้ ทำให้ลำไส้สะอาด  ช่วยเสริมลมเบ่งให้สามารถขับอุจจาระได้ดีขึ้น  อาการท้องผูกก็หายเป็นปลิดทิ้ง

ส่วนแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคท้องผูก  ทำได้โดยกินอาหารที่มีกากใยมากๆ เช่น ผักผลไม้  โดยเฉพาะ ผักผลไม้รสเปรี้ยว  เช่น มะนาว เสาวรส มะม่วงเปรี้ยว มะดัน มะขามเปรี้ยว  กระเจี๊ยบแดง เป็นต้น จะช่วยให้ขับถ่ายได้ดี 3

หรือเมื่อเริ่มมีอาการท้องผูก ในเบื้องต้น มีสมุนไพรเดี่ยวบางชนิด มีสรรพคุณช่วยระบาย  เช่น  ชุมเห็ดเทศ  มะขามแขก หรือจะเลือกรับประทานยาสมุนไพรตำรับอย่าง ตรีผลา  ก็จะช่วยระบายและยังช่วยปรับธาตุให้สมดุลได้อีกด้วย  ยาสมุนไพรทั้งสองชนิดหาซื้อได้ที่ร้านขายยาทั่วไป  แต่ทางที่ดีควรพบแพทย์แผนไทยเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยโรค ข้อแนะนำ รวมไปถึงข้อควรระวังในการกินยา เพื่อประสิทธิผลสูงสุดของยาที่รับประทาน และเพื่อไม่ให้อาการเจ็บป่วยลุกลามจนเป็นสาเหตุของโรคร้ายที่ยากจะรักษา

 

 

2

ผู้เขียน พท. สุนทรี พีรกุล เวชกรรมไทย  เภสัชกรรมไทย

บรรณาธิการ  พาฝัน รงศิริกุล

 

 

 

 

 

 

ขอบคุณเครดิตเจ้าของภาพประกอบ

ทางสมาพันธ์การแพทย์แผนไทยล้านนา นำเสนอบทความเพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ ไม่ได้แสวงผลประโยชน์ใดๆ

http://www.baanmaha.com/community/threads/48827

http://www.breastfeedingthai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539374211&Ntype=36

http://thearokaya.co.th/web

468 ad