ภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย
การแพทย์แผนไทย หรือมักเป็นที่รู้จักกันว่า การแพทย์แผนโบราณ เป็นความพยายามจะอธิบายภาวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสุขภาพ ทั้งสภาวะปกติ และสภาวะที่ผิดปกติ (เป็นโรค) โดยใช้ทฤษฎีความสมดุลของธาตุต่าง ๆ ในร่างกายเข้ามาอธิบาย ผสมผสานองค์ความรู้จากวัฒนธรรมอินเดีย พุทธศาสนา และองค์ความรู้ที่ถูกพัฒนาขึ้นเองโดยครูการแพทย์แผนไทย คือ ชีวกโกมารภัจจ์
การแพทย์แผนไทย อาจหมายถึง กระบวนการทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับการตรวจ วินิจฉัย บำบัด หรือป้องกันโรค หรือการส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพของมนุษย์หรือสัตว์ การผดุงครรภ์ การนวดไทย และหมายความรวมถึงการเตรียมการผลิตยาแผนไทย ประดิษฐ์อุปกรณ์ และเครื่องมือทางการแพทย์ โดยอาศัยความรู้หรือตำราที่ได้ถ่ายทอดและสืบต่อกันมา
การแพทย์แผนไทยอาจจะไม่มีองค์ความรู้ด้านกลไกการเกิดโรค และเทคนิคทางศัลยกรรมมากนัก แต่ต้องมีองค์ความรู้ด้านกลวิธีทางคลินิก เช่น การซักประวัติ และการรักษาด้วยยา เพียงแต่ขาดหลักฐานเชิงประจักษ์ทางคลินิก ซึ่งก็มาจากกฎข้อบังคับตามใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทย ที่ว่า “มิให้แพทย์แผนไทยกระทำการอันเป็นวิทยาศาสตร์ใด ๆ” นั่นเอง ทำให้ไม่สามารถมีการตั้งสมมุติฐานและวิจัยได้อย่างเต็มที่
วิวัฒนาการการแพทย์แผนไทย
ประวัติความเป็นมา การแพทย์แผนไทยเชื่อกันว่ามีต้นกำเนิดมาจากการแพทย์แบบอายุรเวทของอินเดียโดยผู้ที่เป็นแพทย์แผนไทยทุกคนจะเคารพและยกย่องให้ท่านชีวกโกมารภัจจ์ แพทย์อินเดียซึ่งเป็นแพทย์ประจำตัวขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าเป็น บรมครูด้านการแพทย์แผนไทย ซึ่งเรื่องนี้หากเราศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาจะทราบว่าในสมัยพุทธกาล ท่านครูแพทย์เล่าสืบต่อกันมาว่า หมอชีวกเป็นบุตรของนางสาลวดี โสเภณีประจำเมืองราชคฤห์ ซึ่งตั้งครรภ์โดยบังเอิญเมื่อคลอดออกมาจึงนำไปทิ้งไว้นอกเมือง เจ้าชายอภัยราชกุมารเก็บไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม...
read more