Pages Navigation Menu

สมาพันธ์การแพทย์แผนไทยล้านนา

ภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย

         การแพทย์แผนไทย หรือมักเป็นที่รู้จักกันว่า การแพทย์แผนโบราณ เป็นความพยายามจะอธิบายภาวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสุขภาพ ทั้งสภาวะปกติ และสภาวะที่ผิดปกติ (เป็นโรค) โดยใช้ทฤษฎีความสมดุลของธาตุต่าง ๆ ในร่างกายเข้ามาอธิบาย ผสมผสานองค์ความรู้จากวัฒนธรรมอินเดีย พุทธศาสนา และองค์ความรู้ที่ถูกพัฒนาขึ้นเองโดยครูการแพทย์แผนไทย คือ ชีวกโกมารภัจจ์

         การแพทย์แผนไทย อาจหมายถึง กระบวนการทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับการตรวจ วินิจฉัย บำบัด หรือป้องกันโรค หรือการส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพของมนุษย์หรือสัตว์ การผดุงครรภ์ การนวดไทย และหมายความรวมถึงการเตรียมการผลิตยาแผนไทย ประดิษฐ์อุปกรณ์ และเครื่องมือทางการแพทย์ โดยอาศัยความรู้หรือตำราที่ได้ถ่ายทอดและสืบต่อกันมา

         การแพทย์แผนไทยอาจจะไม่มีองค์ความรู้ด้านกลไกการเกิดโรค และเทคนิคทางศัลยกรรมมากนัก แต่ต้องมีองค์ความรู้ด้านกลวิธีทางคลินิก เช่น การซักประวัติ และการรักษาด้วยยา เพียงแต่ขาดหลักฐานเชิงประจักษ์ทางคลินิก ซึ่งก็มาจากกฎข้อบังคับตามใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทย ที่ว่า “มิให้แพทย์แผนไทยกระทำการอันเป็นวิทยาศาสตร์ใด ๆ” นั่นเอง ทำให้ไม่สามารถมีการตั้งสมมุติฐานและวิจัยได้อย่างเต็มที่

“ไม่ขี้” ไม่ใช่เรื่องขี้ๆ

Posted by on Dec 13, 2016 in แพทย์แผนไทย | 0 comments

“ไม่ขี้” ไม่ใช่เรื่องขี้ๆ

อาการของโรคท้องผูกคือ  ถ่ายยาก ถ่ายน้อย  ไม่ถ่ายทุกวัน ลักษณะอุจจาระ เป็นก้อนกลมเล็ก ไม่เป็นลำยาว   อาจทำให้ท่านรู้สึกอึดอัด หงุดหงิด  หากท้องผูกเป็นเวลานานหลายปี จะก่อให้เกิดโรคใหม่โดยที่ท่านไม่รู้ตัว  ทฤษฏีการแพทย์แผนไทยได้กล่าวถึงอาการของโรคที่เกิดใหม่ดังนี้    กินอาหารได้น้อย  นอนไม่หลับ ปวดถ่วง ปวดเมื่อยตัว  แน่นอก   มึนศีรษะ หงุดหงิดง่าย  ร้อนใน แผลในปาก เสียดชายโครงและเสียดท้อง หากท่านมีอาการเหล่านี้ให้พิจารณาว่ามีอาการท้องผูกด้วยหรือไม่  อาการดังกล่าวนับเป็นโรคกษัย (โรคที่เกิดซ้ำๆเป็นเวลานานๆ) ชนิดหนึ่ง ...

read more

ฤดูฝนกำลังจะมา ดูแลสุขภาพอย่างไรดี

Posted by on Aug 3, 2016 in แพทย์แผนไทย | 0 comments

ฤดูฝนกำลังจะมา ดูแลสุขภาพอย่างไรดี

 ในปีพุทธศักราช 2559 สภาพอากาศร้อนมากกว่าทุกปี  กรมอุตุนิยมวิทยาได้แจ้งเตือนประชาชนให้เตรียมรับอุณหภูมิที่จะสูงถึง 42-44 องศาเซลเซียส  แล้วก็เป็นจริงตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้แจ้งเตือน   ตามทฤษฏีแพทย์แผนไทย ฤดูร้อนเป็นเวลาแห่งธาตุไฟกำเริบ  จึงกระทบธาตุทั้ง 3 ของร่างกาย ได้แก่  ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ให้กำเริบเช่นกัน ทั้งนี้ เพราะร่างกายมนุษย์มีการควบคุมสมดุลภายใน  เพื่อให้เหมาะสมกับความร้อนของอากาศภายนอก  เมื่อใดที่ร่างกายควบคุมสมดุลได้ดีเราก็จะรู้สึกสบาย  ตรงกันข้ามถ้าควบคุมไม่ดี เราก็จะรู้สึกไม่สบายตัว ร้อนข้างใน  หงุดหงิด  หรือมีไข้ได้...

read more

เล่าประสบการณ์ดูแลผู้ป่วยโรคเส้นเลือดสมองตัน

Posted by on Mar 23, 2016 in บทความสมาพันธ์, แพทย์แผนไทย | 0 comments

เล่าประสบการณ์ดูแลผู้ป่วยโรคเส้นเลือดสมองตัน

ในช่วงเวลาปีเศษที่ผ่านมา  ดิฉันมีโอกาสได้ดูแลผู้ป่วยเป็นโรคเส้นเลือดในสมองตีบ จึงมีความตั้งใจที่จะเขียนบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้มาตลอดช่วงเวลาดังกล่าวเพื่อเป็นเครื่องเตือนความทรงจำตนเองและคิดว่าอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจบ้างไม่มากก็น้อย  จึงจะขอสมมุติชื่อผู้ป่วยว่าคุณโชคดี  เหตุการณ์เริ่มต้นขึ้นเมื่อคุณโชคดีเกิดอาการ แขน ขาอ่อนแรง  ปากเบี้ยว  ลิ้นกระด้าง  คางแข็ง  ต้องรีบพาส่งโรงพยาบาลโดยด่วน คุณหมอวินิจฉัยว่าเกิดจากเส้นเลือดในสมองอุดตัน  ทำการรักษาโดยฉีดยาละลายลิ่มเลือด  สามารถละลายลิ่มเลือดได้บางส่วน  คงเหลือเส้นเลือดเพียงบางส่วนที่ยังอุดตัน ...

read more

กัวซากับโรคปวดเมื่อย

Posted by on Dec 8, 2015 in แพทย์แผนไทย | 0 comments

กัวซากับโรคปวดเมื่อย

                                  ถ้ากล่าวถึงโรคปวดเมื่อย  พูดได้ว่าไม่มีใครที่ไม่รู้ และคนส่วนมากเคยเป็นโรคนี้  แต่จะมีอาการเจ็บปวดมากหรือน้อยขึ้นกับปัจจัยของวัย ด้วยทฤษฏีการแพทย์แผนไทย คนที่มีอายุเกิน  32 ปี  เข้าสู่วัยธาตุลมหย่อน โดยเฉพาะธาตุลมในกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นทำให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นยืดหยุ่นลดลง  ความสามารถในการเคลื่อนไหว การใช้แรงกล้ามเนื้อจึงลดลงด้วยและการขับพิษหรือของเสียออกก็ลดลงเช่นกัน  จึงมีอาการปวดเมื่อยเกิดขึ้น   อีกปัจจัยหนึ่งคืออาชีพ  ซึ่งอาชีพเป็นสิ่งกำหนดอิริยาบถที่ไม่ถูกต้อง...

read more

โรคปวดเมื่อยรักษาได้ด้วยสมุนไพร

Posted by on Oct 20, 2015 in แพทย์แผนไทย | 0 comments

โรคปวดเมื่อยรักษาได้ด้วยสมุนไพร

โรคปวดเมื่อยรักษาได้ด้วยสมุนไพร ในอันดับแรก เพื่อให้เข้าใจมูลเหตุของการเกิดโรคปวดเมื่อยจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับ ธาตุทั้ง 4 อันได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งประกอบกันในร่างกายของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ธาตุทั้ง 4 นี้มีภาวะสมดุลและเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน เมื่อใดที่ธาตุหนึ่งธาตุใดเสียสมดุล ก็จะทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยต่างๆ เช่น การเสียสมดุลของธาตุลม เป็นเหตุให้เกิดอาการปวดเมื่อย จึงจะขอกล่าวถึงรายละเอียดเฉพาะธาตุลมซึ่งเป็นสาเหตุหลักของอาการปวดเมื่อย ธาตุลม เป็นสิ่งที่มองไม่เห็น จับต้องไม่ได้แต่ไหลเวียนอยู่ในร่างกาย ทำหน้าที่หลาย ประการ...

read more

อยู่ไฟหลังคลอด

Posted by on Oct 26, 2013 in แพทย์แผนไทย | 0 comments

อยู่ไฟหลังคลอด

การดูแลสุขภาพหญิงหลังคลอดด้วยการแพทย์แผนไทยในอดีต ไม่มีตำราใดเขียนไว้ มีแต่องค์ความรู้ทางการแพทย์ในเรื่องที่เกี่ยวกับแม่และเด็กที่กล่าวไว้ในพระคัมภีร์ปฐมจินดา เริ่มตั้งแต่การตั้งท้อง การคลอด เรื่องรก การดูลักษณะเด็ก โรคเด็ก ฯลฯ แต่ไม่ได้กล่าวละเอียดเกี่ยวกับการคลอด หลังคลอดอมีเพียงเรื่องของยาที่ใช้ระยะเรือนไฟ เช่น ยาช่วยให้คลอดง่าย ยาแก้รกค้าง ยาใช้แทนการอยู่ไฟ ยาขับน้ำคาวปลา ยาบำรุงน้ำนม ยาขับน้ำนม ยาบำรุงเลือด ฯลฯ การคลอดบุตรของคนไทยแต่โราณนั้น ทำได้แต่การคลอดธรรมดา ถ้ามีการคลอดผิดปกติแม่จะอยุ่ระหว่างอันตรายมาก ...

read more

โรคเก็าต์

Posted by on Oct 12, 2013 in แพทย์แผนไทย | 0 comments

โรคเก็าต์

รักษาโรคเก๊าต์ด้วยการแพทย์แผนไทย โรคเก๊าท์  คือ โรคที่เกิดจากการที่ไตไม่สามารถขับกรดยูริคออกมาทางปัสสาวะได้ดีพอ จึงมีกรดยูริคตกค้างอยู่ในเลือดสูงและเกิดการตกผลึกเรียกว่า “ผลึกยูเรท” ไปฝังตัวอยู่ตามเนื้อเยื่อของร่างกาย โดยเฉพาะที่บริเวณนิ้วหัวแม่เท้า และบริเวณข้อต่อต่าง ๆ  และเกิดการอักเสบก็จะมีอาการปวดบวมแดงร้อน กรดยูริคเกิดจากร่างกายผลิตขึ้นเองประมาณร้อยละ 90 อีกประมาณร้อยละ 10 เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีสารเพียวรินสูง อาหารที่มีสารเพียวรินสูงอาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการอักเสบมากขึ้น อาหารที่มีสารเพียวรินสูง เช่น เครื่องในสัตว์ทุกชนิด...

read more

การวางยารักษาโรคตามทฤษฎีแพทย์แผนไทย

Posted by on Oct 1, 2013 in แพทย์แผนไทย | 0 comments

การวางยารักษาโรคตามทฤษฎีแพทย์แผนไทย

*** การวางยารักษาโรคตามทฤษฎีแพทย์แผนไทย ***                                 การรักษาอาการเจ็บป่วยของคนไข้ หมอจะต้องตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสมุฏฐานของโรคให้ถูกต้องแม่นยำ และจะต้องวางยารักษาให้ตรงกับโรคและอาการข้างเคียงของโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ ผลการรักษาจึงจะทำให้คนไข้หายจากโรคได้  ซึ่งหลักการวางยาที่แพทย์แผนไทยควรศึกษาและทำความเข้าใจให้ท่องแท้มีอยู่ 4 หลัก คือ     ยารุ หมายถึง การใช้ยาถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ถ่ายดี ลม เสลด (ปิตตะ วาตะ เสมหะ) ยาล้อม   หมายถึง  การใช้ยารักษาอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น ยารักษา   หมายถึง  ...

read more

หลักการรักษาโรคตามทฤษฎีแพทย์แผนไทย

Posted by on Sep 12, 2013 in แพทย์แผนไทย | 0 comments

หลักการรักษาโรคตามทฤษฎีแพทย์แผนไทย

หลักการรักษาโรคตามทฤษฎีแพทย์แผนไทย ทฤษฎีการแพทย์ไทย กล่าวว่า คนเราเกิดมาในร่างกายประกอบด้วยธาตุทั้งสี่ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ ซึ่งในแต่ละคนจะมีธาตุหลักเป็นธาตุประจำตัว เรียกว่า “ ธาตุเจ้าเรือน   เมื่อธาตุทั้งสี่ในร่างกายสมดุลบุคคลนั้นก็จะไม่เจ็บป่วย หากขาดความสมดุลก็จะเกิดความเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกิดจากจุดอ่อนด้านสุขภาพของแต่ละคนตามเรือนธาตุที่ขาดความสมดุลนั้น เช่น ถ้าในร่างกายมีธาตุไฟมากเกินไปก็จะรู้สึกร้อนภายในหรือเป็นไข้ ถ้ามีธาตุน้ำมากเกินไปก็จะรู้สึกหนาวเย็น ถ้ามีธาตุลมมากเกินไปก็จะรู้สึกอึดอัดแน่นในท้อง เหล่านี้เป็นต้น...

read more

สุขภาพดีรู้ได้อย่างไร

Posted by on May 31, 2013 in บทความสมาพันธ์, แพทย์แผนไทย | 0 comments

สุขภาพดีรู้ได้อย่างไร

                                                                                  การที่กล่าวว่าสุขภาพแข็งแรงนั้นเป็นอย่างไร โดยทฤษฎีการแพทย์แผนไทยดัชนีชี้วัดสุขภาพที่แข็งแรงคือความสมดุลในร่างกายความ สมดุลของร่างกายสามารถรู้ได้อย่างไร รู้ได้จากการสำรวจความรู้สึกว่า เรารู้สึกเบาสบาย มีกำลัง เป็นอยู่ผาสุก ดังนั้น ทุกๆวันเราควรสำรวจความรู้สึกว่าร่างกายสมดุลหรือไม่ ถ้าร่างกายไม่สมดุลควรทำอย่างไร ก็ต้องปรับสมดุล ปรับอย่างไร                                      ...

read more