ภูมิปัญญาหมอเมืองล้านนา
หมอเมือง คือหมอแผนโบราณ ทำการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ด้วยวิชาการที่สืบทอดมาจากปู่ย่าตายาย เป็นการรักษาแบบตามประเพณีที่สืบทอดกันมา มีตำรา “ปั๊บ” ตัวอักษรพื้นเมืองเป็นตำรา บอกสูตรยาสมุนไพร เป็นเครื่องมือในการศึกษาหาความรู้
หมอเมือง เป็นองค์ความรู้และภูมิปัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิปัญญาล้านนา ซึ่งเป็นมรดกแห่งภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษหลายชั่วอายุคน เรียกว่ามรดกแห่งการรักษา (TRADITIONAL HEALING) ซึ่งมีระบบการรักษาแบบองค์รวม (HOLISTIC) คือคำนึงถึงกาย จิต และ วิญญาณ ควบคู่กัน การรักษาแบบหมอเมือง ไม่ได้พึ่งแต่สารสังเคราะห์ ที่สมัยใหม่เรียกว่า “ยา” แม้ว่าบางส่วนใช้สารที่ได้จากสมุนไพรในธรรมชาติ แต่หมอเมืองยังรวมไปถึงความเชื่อ จิตวิญญาณ และพลังชุมชนด้วย เรียกได้ว่า เป็นองค์ความรู้แบบองค์รวม โดยมีเป้าหมายคือสันติสุขของบุคคลและชุมชน
การนวดอัตลักษณ์ล้านนา
การนวดอัตตลักษณ์ล้านนา (Thai Tradition massage of Lanna) จุดเด่นของภูมิภาค 8 จังหวัดตอนบนที่เรียกขานติดปากและชินหู คือ “ดินแดนล้านนา” ที่รุ่มรวยไปด้วยวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติสืบทอดมามีตำนานและเรื่องเล่าไม่รู้จบ ตลอดจนแหล่งธรรมชาติที่สวย เงียบสงบ เป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้าสู่ภูมิภาค นั่นคือเงินตราและความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจมวลรวมของประเทศ หนึ่งในวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของภูมิภาคโดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ คือ การนวดอัตตลักษ์ล้านนา ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านที่สืบทอดกันมายาวนานจนถึงทุกวันนี้ 1. การย่ำขาง...
read moreโหราเวช
• โหราเวช โหราเวช คือ วิชาพยากรณ์ปูมโรคในร่างกายมนุษย์ก่อนจะทำการรักษา โดยถือเอาตำแหน่งของดาวนพเคราะห์ที่โคจรในเรือนชะตาของ แต่ละบุคคล กอร์ปด้วยหลักวิชาปรวนแปรของธาตุเจ้าเรือน มีธาตุอะไร? ภินนะ จรณะ มรณะและกฎสภาวะแวดล้อมของธรรมชาติเป็นตัวกำหนดนอกจากนี้ยังสามารถทำนายดวงชะตาของมนุษย์ได้อีกโสดหนึ่ง โหราเวชแบ่งวิธีบำบัดรักษาโรคได้ 3 สาขาใหญ่ ๆ คือ 1. เวชมนตรา คือ การรักษาโรคจริตของมนุษย์อันไม่ปรากฏมูลเหตุทางกายภาพที่ชัดเจน เช่น โรคลมพัดลมเพ โรคบริวิตกจริต โรคอันเกิดจากการกระทำทางคุณไสย ต้องพิษผีพิษโป่ง พิษพรายไร้ร่องรอย ผีเข้าเหล้าตือ 2....
read more“ตอกเส้นสิบสองไม้ครู”
ตอกเส้นสิบสองไม้ครู การตอกเส้น คือ ภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้านล้านนาในการบำบัดรักษาช่วยเหลือตัวเองและชุมชนมาแต่โบราณ พัฒนามาจากหมอช้างหมอม้า ท่านเหล่านี้คลุกคลีอยู่กับการพยาบาลช้าง ม้า วัว ควายของเจ้าผู้ครองนครในเขตล้านนา มีความจำเป็นต้องใช้วัวต่าง ม้าต่าง ช้างต่างในการคมนาคมขนส่งตามภูมิประเทศที่เป็นเขาสูงรกชัฏ พญาจักรเป็นบุคคลสำคัญเป็นหมอช้างหมอม้ามีวิชาอาคมมากอยู่แจ่งหัวลินทางทิศตะวันตกแจ่งเหนือ ในเขตกำแพงเมืองชั้นในเมืองเชียงใหม่ เป็นหัวน้ำไหลเข้าเลี้ยงเมืองเชียงใหม่ มีสวนสมุนไพรที่ใช้รักษาคนและสัตว์ มีโรงตีเหล็กทำมีดดาบ เกือกม้า ขอสับช้าง...
read moreยาฝนยาต้ม
• ยาฝน คือ สมุนไพรที่ใช้รักษาโรคด้วยวิธีการนำตัวยามาฝนกับน้ำกระสายแล้วให้ผู้ป่วยดื่ม ทาบริเวณที่มีอาการ ยาฝนที่ใช้รักษาโรคมักจะเรียกว่า ยาแก้ เช่น ยาฝนแก้กินผิดสาบผิด ยาฝนแก้ตุ่มแก้คัน ยาฝนแก้สันนิบาต ยาฝนแก้ขาง ยาฝนแก้ฝี ยาฝนแก้อีสุกอีใส ยาฝนแก้มะเฮ็งคุด ยาฝนแก้ลมบ้าหมู ยาฝนแก้นิ่ว ยาฝนแก้ห้ามฮาก (อาเจียน) ยาฝนตัดฮากสาน ยาฝนแก้ไข้ ยาฝนแก้มะโหก ยาฝนแก้ถอนพิษ เป็นต้น ยาฝนแต่ละป้าก (ตำรับ) จะมีตัวยามากน้อยตามกัน ดังตัวยาแก้ห้าต้น ประกอบด้วยตัวยา ๕ ชนิด คือ หญ้าหมูป่อย เถาแตงเถื่อน หนาดคำ จุ่งจะลิง และดีงูหว้า...
read moreพิธีกรรมความเชื่อของคนล้านนา
พิธีกรรมความเชื่อของคนล้านนา ในอดีตการณ์ในโบราณถิ่นล้านนาต้องหาที่พึ่งทั้งทางกายและทางใจ ทางกาย เราต้องอาศัยสมุนไพร(ลูกของป่า)ใกล้ตัวเป็นปัจจัยสี่ ได้แก่ ที่อยู่อาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค เมื่อปัจจัยสี่อุดมสมบูรณ์ดี มนุษย์เราก็อยู่เป็นสุขสบายดี หมอรักษาโรคก็ดีใจ ทางใจ ที่พึ่งคือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นับเป็นที่พึ่งสิ่งสุดท้ายของชีวิต ตั้งแต่แรกเกิดก็พึ่งพระสงฆ์ตั้งชื่อให้ เพื่อเป็นสิริมงคลของลูกหลาน จนถึงครั้งสุดท้ายของชีวิต ก็พึ่งพระสงฆ์ไม่ว่าจะขึ้นบ้านใหม่...
read moreการย่ำขาง
• ย่ำขาง เป็นวิธีการบำบัดรักษาโรคภัยไข้เจ็บแบบพื้นบ้านล้านนาอีกประเภทหนึ่ง โดยมากใช้สำหรับบำบัดหรือรักษาอาการเจ็บปวดตามร่างกาย โดยใช้เท้าชุบน้ำยา(น้ำไพลหรือน้ำมันงา) แล้วไปย่ำลงบนขางที่เผาไฟจนร้อนแดง แล้วจึงไปย่ำบนร่างกายหรืออวัยวะของผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บปวด พร้อมทั้งเสกคาถาอาคมกำกับด้วย ในอดีตหมอเมืองจะใช้เท้าย่ำรักษาส่วนต่างๆของร่างกายรวมทั้งศีรษะด้วย แต่ต่อมามีการปรับเปลี่ยนเป็นใช้มือหรือลูกประคบนวดในส่วนของศีรษะแทน ส่วนอื่นๆ ของร่างกายยังคงใช้เท้าย่ำเหมือนเดิม หมอเมืองที่รักษาด้วยการย่ำขาง เรียกว่า หมอย่ำขาง คำว่า “ขาง”...
read moreการเผายา
ประวัติความเป็นมาของการเผายา ความเป็นมาของการแพทย์พื้นบ้านล้านนา หรือหมอพื้นบ้าน ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่พุทธกาล นับเป็นพันๆปี มากมายหลายศาสตร์หลายแขนงล้วนแล้วแต่มีบันทึกไว้ตามผนังถ้ำ ตามเสา ศาลาวัด โบสถ์วิหาร ปั๊บลาน ปั๊บสา สมุดข่อย หรือแผ่นศิลาจารึก ดังปรากฏให้เห็น เช่น การนวดราชสำนัก การนวดเชลยศักดิ์ ฤๅษีดัดตน ก็มีให้เห็นที่ วัดโพธิ์ (วัดเชตุพนวิมลมังคลาราม) การแพทย์แผนไทยพื้นบ้านล้านนา เช่น การเช็ด การแหก การเป่า การจอบไข่ การตอกเส้น การย่ำขาง และพิธีกรรมอื่นๆ ก็มีให้เห็น และได้ศึกษา สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน แต่ “การเผายา”...
read moreการเช็ดแหก
เช็ดแหก คำว่า “แหก” เป็นภาษาพื้นบ้านล้านนาแปลว่าขูดหรือถู ซึ่งหมายถึงการใช้อุปกรณ์ หรือ สมุนไพร เช่น ใบไม้ ไพร มีดหมอ เขาสัตว์ เหรียญ ฯลฯ ขูดหรือถูไปต่ามส่วนต่างๆของร่างกายที่มีอาการเจ็บปวดหรือมีอาการไม่สบาย เช็ดแหก เป็นการนวดชนิดหนึ่งที่เรียกว่า นวดเสียดสี ทำให้คลายกล้ามเนื้อ ช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น เลือดดีไล่เลือดเสีย น้ำเหลืองไหลเวียนดีขึ้น เพิ่มออกซิเจนเข้าสู่เนื้อเยื่อร่างกาย เปิดรูขุมขนขับของเสียออกจากร่างกาย กระตุ้นความร้อนทำให้ร่างกายเกิดการเผาผลาญดีขึ้น และยังช่วยปรับร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุล เช็ดแหก...
read more