พิธีกรรมความเชื่อของคนล้านนา
พิธีกรรมความเชื่อของคนล้านนา
ในอดีตการณ์ในโบราณถิ่นล้านนาต้องหาที่พึ่งทั้งทางกายและทางใจ
ทางกาย เราต้องอาศัยสมุนไพร(ลูกของป่า)ใกล้ตัวเป็นปัจจัยสี่ ได้แก่ ที่อยู่อาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค เมื่อปัจจัยสี่อุดมสมบูรณ์ดี มนุษย์เราก็อยู่เป็นสุขสบายดี หมอรักษาโรคก็ดีใจ
ทางใจ ที่พึ่งคือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นับเป็นที่พึ่งสิ่งสุดท้ายของชีวิต ตั้งแต่แรกเกิดก็พึ่งพระสงฆ์ตั้งชื่อให้ เพื่อเป็นสิริมงคลของลูกหลาน จนถึงครั้งสุดท้ายของชีวิต ก็พึ่งพระสงฆ์ไม่ว่าจะขึ้นบ้านใหม่ และพิธีต่างๆที่เป็นมงคล เช่น ขึ้น ท้าวทั้ง 4 ทิศ ลงเสา เอก-โทร เรียกขวัญ(บายศรี) ผูกข้อมือ
ก็พึ่งพระสงฆ์ ทำพิธีให้อยู่เย็นเป็นสุข
ปัจจุบันมีเหตุการณ์และสิ่งรบกวนที่ทำให้มนุษย์ไม่สบายทางกายและทางใจ ถ้าป่วยไข้ ทางธรรมะก็จะใช้เทียน 3 เล่ม คือ
เล่มที่ 1 เรียกสะเดาะเคราะห์ (พระพุทธเจ้า แม่ข้ามน้ำทะเล)
เล่มที่ 2 เทียนประจำวันเกิด (นพเคราะห์ทั้ง 9 ) บูชาให้อายุยืนนาน
เล่มที่ 3 ชุดโชค (เทียนพระสีวลี) – ลาภ(มีลาภ-ยิ่งยืนยง)
คนโบราณล้านนายึดถือเอาเทียน 3 เล่มนี้เป็นหลักของชีวิตในไส้เทียนมีหัวใจ
พระคาถาอักขระ 108 (ผ้ายันต์) ประกอบด้วย พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสงฆคุณ