งา sesame
“กินงา มีคุณค่าดังได้หยก”
สำนวนนี้สะท้อนถึงสรรพคุณอันล้ำเลิศของ “งา” ในสายตาชาวจีนโบราณ เพราะเป็นที่รู้กันดีว่า “หยก” เป็นอัญมณีสูงค่าเพียงใดในสังคมจีน และทราบหรือไม่ว่า
คนโบราณรู้จักนำ “งา” มาเป็นอาหารนานกว่า 5,000 ปีแล้ว เดิมนั้นงาเป็นพืชพื้นเมืองของเอเชีย หรือตะวันออกของแอฟริกา แต่ปัจจุบันพบได้ในพื้นที่เขตร้อน และกึ่งร้อน
ส่วนชาวจีนรู้จักคุณค่าของงามานมนาน โดยนิยมกินงาเพื่อเป็นยาอายุวัฒนะ นอกจากนั้นพวกเขายังเผาเมล็ดงาเพื่อใช้ทำแท่งหมึกจีนที่มีคุณภาพดี ส่วนชาวโรมันบดเมล็ดงา
ผสมขนมปังเป็นอาหารรสดี ชาวไทยก็มีขนมที่ใช้เมล็ดงา เรียกว่า ขนมงาตัด ใช้งากวนกับน้ำตาล แล้วตัดเป็นแผ่น
งา มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Sesamum indicum Linn. ชื่ออื่นๆ คือ งาดำ งาขาว เป็นไม้ล้มลุก ผลเป็นฝัก มีเมล็ดเล็กๆ สีขาวหรือสีดำ มีการเพาะปลูกมานาน
ต้นงานั้นมีความสูงระหว่าง 0.5 – 2.5 เมตร ขึ้นกับสภาพที่ปลูก บางพันธุ์ก็มี กิ่งก้าน บ้างก็ไม่มี ในแกนหนึ่งมีดอกราว 3 ดอก เมล็ดนั้นมีสีขาวยาวราว 3 มิลลิเมตร เมื่อแห้ง
เปลือกเมล็ดจะเปิดอ้า และเมล็ดจะหลุดออกมา การเก็บงาจึงต้องอาศัยแรงงานคนเพื่อมิให้เมล็ดงาร่วงหล่น ภายหลังเมื่อไม่นานมานี้มีการพัฒนาพันธุ์มิให้เมล็ดแตกกระจาย
ทำให้สามารถเก็บด้วยเครื่องจักรได้
งา เมล็ดพืชเล็กจิ๋วที่อุดมไปด้วยสารอาหารมี 2 แบบ คือ งาดำ และงาขาว นอกจากนี้ยังมีน้ำมันงาที่ใช้ปรุงอาหารได้ดี เพราะมีกลิ่นหอม และกรดไขมันที่มีประโยชน์
โปรตีนในงามีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย คือ กรดอะมิโนเมธิโอนีน (ในถั่วเหลืองมีกรดอะมิโนที่จำเป็นตัวนี้น้อยกว่า) และยังมีสารที่สกัดจากงาชื่อว่า เซซามิน
ที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งตับด้วย ชาวมังสวิรัติจึงนิยมโรยงาลงไปในอาหารถั่วเหลืองที่ปรุงแล้ว เพื่อให้มีสารโปรตีนสมบูรณ์มากขึ้
งา เป็นอาหารที่สามารถบำรุงกำลังได้เป็นอย่างดี และยังให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ช่วยให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า นอกจากนี้ยังป้องกันโรคเหน็บชา ป้องกันอาการท้องผูก
บำรุงกระดูก บำรุงรากผม รักษาอาการนอนไม่หลับ และยังช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอลไม่ให้มีมากเกินไป ป้องกันไม่ให้หลอดเลือดแข็งตัว โรคหัวใจและโรคเกี่ยวกับ
หลอดเลือดบางชนิด
น้ำมันงาใช้ทาผมจะทำให้ผมดำเป็นมันวาว ไม่แห้งแตกปลายแก้ปัญหาผมร่วง และใช้ทาผิวเพื่อให้ความชุ่มชื้น ลดรอยหยาบกร้าน ช่วยให้ผิวพรรณผุดผ่อง เห็นแล้วหรือยังคะว่า
งา มีคุณค่ามากมาย จิ๋วแจ๋ว ไม่ธรรมดา
( ข้อมูลจาก Health Holistic )
เมื่อพูดถึง งา บ้านเราส่วนใหญ่จะรู้จักแต่ งาดำ และงาขาว ซึ่งมีลักษณะเป็นเม็ดแบนเล็กๆสีดำและสีขาว แต่ถ้าเป็นคนภาคเหนือจะรู้จักงาอีกชนิดหนึ่ง
ลักษณะเป็นเม็ดกลมๆเล็กๆสีน้ำตาลเรียก “งาขี้ม้อน” เป็นพืชพื้นถิ่นทางภาคเหนือที่มักปลูกกันมากบนดอย งาขี้ม้อนเป็นงาพื้นเมืองซึ่ง มีกลิ่นเฉพาะตัวให้ผลผลิตมากในช่วงต้นฤดูหนาว
สรรพคุณของ งาขี้ม้อน
งาขี้ม้อน มีกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวสูง กรดนี้ช่วยควบคุมระดับโคเลสเตอรอลไม่ให้มีมากเกินไป ป้องกันไม่ให้หลอดเลือดแข็ง
นอกจากนี้ยังมีผุ้สะกัดเอาสารจากงาขี้ม้อนไปทำเครื่องสำอางค์บำรุงผิวอีกด้วย
คุณค่าทางอาหารของงาม้อน
1. มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง
2. มีฟอสฟอรัสและแคลเซียมมากกว่าพืชทั่วไป 40 และ 20 เท่า ตามลำดับ
3. มีวิตามิน บี
4. มีสาร เซซามอล ที่ช่วยป้องกันมะเร็ง และชะลอความแก่
5. มีน้ำมันหอมระเหยจากใบ (perilla aldehyde) ใช้แต่งกลิ่นอาหาร ลดรอยบนใบหน้า
6. มีสารโอเมก้า-3 และโอเมก้า-6 มากกว่าน้ำมันปลา 2 เท่า
7. มีสาร rosmarinic acid และ tuteolin ซึ่งมีฤทธิ์ต้านการแพ้ และอักเสบได้ดี
เหนือจะนำงาขี้ม้อนนี้มาทำอาหารกินเล่นโดยเฉพาะในช่วงหน้าหนาว นอกจากข้าวหลามเผาสุกใหม่แล้ว เด็กๆจะชอบกันมากหากได้นั่งผิงไฟ และกินข้าวเหนียวผสมงาขี้ม้อน ซึ่งเรียกว่า “ข้าวหนุกงา” บางท้องถิ่นเรียกว่าข้าวเหนียวงา บางท้องถิ่นเรียก ว่าข้าวแดกงาก็มี ,ข้าวหนุกงานั้น มีส่วนผสมสำคัญคือข้าวเหนียวนึ่งสุก งาขี้ม้อนและเกลือ มีคุณค่าทาง โภชนาการสูง เหมาะกับเด็กๆ เพราะทั้งมีคุณค่าและอร่อย
วิธีทำข้าวหนุกงา
ส่วนผสม
๑. ข้าวเหนียวนึ่งสุก
๒. งาขี้ม้อน
๓. เกลือ
ผู้ใหญ่จะตำข้าวหนุกงาไว้ให้เด็กๆ กินกันหลังจากที่นึ่งข้าวสุก ในตอนเช้าตรู่ โดยจะตำงาขี้ม้อนให้ละเอียดผสมกับเกลือเล็กน้อย พอข้าวสุกแล้วก็จะคดข้าวมาคลุกกับงาที่ตำไว้ เพียงเท่านี้ก็ได้ข้าวหนุกงา ที่หอมหวนและเอร็ดอร่อยไว้ทานในมื้อเช้าแล้ว แต่บางบ้านอาจจะคดข้าวเหนียวมาตำผสมกับงาจนละเอียดเป็นแป้งเหนียวก็แล้วแต่ความชอบ บางท้องถิ่นอาจจะทำพิเศษขึ้นไปอีกคือเอาข้าวหนุกงาที่ตำจนเป็นแป้งเหนียวนั้น มาแผ่คลึงเป็นแผ่นบางๆ แล้วเอาย่างไฟ พอแป้งโดนความร้อนก็จะพองตัว และมีผิวนอกที่กรอบ จากนั้นก็เอาน้ำอ้อยมาราดก็จะได้ขนมที่หวานมันและเค็มปะแล่มๆในปัจจุบันนี้ มีคนหัวใสนำงาขี้ม้อนมากวนผสมกับน้ำอ้อย แล้วอัดเป็นแผ่นกลมๆขาย แทะเล่นกรุบกรอบหวานอร่อย ทั้งอร่อยและเปี่ยมด้วยคุณค่าทางโภชนาการ นับเป็นนวัตกรรม ใหม่ของผลิตผลทางการเกษตรพื้นเมืองที่เป็นประโยชน์กับทุกคนจริงๆ
(ข้อมูลจาก http://www.pardrewengineer.th.gs/web-p/usung/menu13.htm)
งาม้อน พืชวิเศษสุดให้โอเมก้า 3 ทดแทนปลาทะเลน้ำลึก
งาม้อนหรืองาขี้ม้อน เป็นพืชสมุนไพรที่มีประวัติการใช้เป็นอาหาร และยาในประเทศทางแถบเอเชียมานานแล้ว สำหรับประเทศไทยงาม้อนเป็นพืชที่ปลูกกันมานานในพื้นที่ภาคเหนือหลายจังหวัด เช่น จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน เป็นต้น มีพื้นที่ปลูกทั้งหมดประมาณ 3,400ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย
80 กิโลกรัมต่อไร่
จากรายงานของ คุณพรรณผกา รัตนโกศล นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรน่าน สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 เชียงใหม่ รายงานว่าได้ทำการสำรวจการปลูกงาม้อนในเขตภาคเหนือตอนบนในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน พะเยา แพร่ และน่าน พบว่างาม้อนมีการปลูกกระจายทั่วไปในพื้นที่ดอนเชิงเขา ผลการสำรวจทั้งหมด 30 แหล่งผลิต พบว่างาม้อน มีทั้งหมด 130 สายพันธุ์ มีทั้งขนาดเมล็ดใหญ่ เมล็ดเล็ก และมีสีต่างๆ กัน ตั้งแต่สีน้ำตาลอ่อนจนถึงน้ำตาลไหม้ สีเทาเข้ม เทาอ่อนจนถึงสีขาว การปลูกงาม้อนส่วนใหญ่จะปลูกในพื้นที่ดอนและอาศัยน้ำฝน เกษตรกรที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย งาม้อนอุดมด้วยวิตามินบีและแคลเซียม งาม้อน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
งาม้อนมีกรดไขมันอิ่มตัวสูง มีฟอสฟอรัส และแคลเซียมมากกว่าพืชผักทั่วไปหลายเท่ามีแคลเซียม 410-485 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม นอกจากนั้นยังอุดมด้วยวิตามินบี และมีสารเซซามอล ที่นักวิทยาศาสตร์ หลายคนกล่าวว่า สามารถช่วยป้องกันโรคมะเร็งและยังช่วยให้ร่างกายแก่ช้าลงอีกด้วย มีข้อมูลจากห้องปฏิบัติการโภชนาการหน่วยบริการการวิจัยด้านอาหาร กรมวิชาการ- เกษตรแห่งสหรัฐอเมริการะว่า บุคคลทั่วไปอายุ 10-18 ปี และอายุ 19-65 ปี ต้องการแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน และอายุมากกว่า 65 ปี ต้องการแคลเซียม 1,300 มิลลิกรัมต่อวัน งาม้อนโอเมก้า 3 แห่งขุนเขา
คุณพรรณผกา ตั้งชื่องาม้อนไว้อย่างมหัศจรรย์ จากรายงานระบุผลวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการพบว่าน้ำมันงาม้อน มีโอเมก้า 3 ถึงร้อยละ 56และเป็นโอเมก้า 6 ร้อยละ 23 คุณพรรณผกา กล่าวว่า เมื่อพูดถึงโอเมก้า 3 หลายคนคงนึกถึงน้ำมันปลา (fish oil)ซึ่งสกัดมาจากปลาทะเลน้ำลึก ที่มีสรรพคุณบำรุงสมองแต่ราษฎรที่อยู่ตามยอดดอยต่างๆในภาคเหนือของประเทศไทยอยู่ห่างไกลทะเล คงไม่สามารถหาปลาทะเลน้ำลึกมารับประทานได้ แต่ปรากฏว่าชาวเขาชาวดอยเหล่านั้นไม่ได้ขาดโอเมก้า 3 เลย เนื่องจากเขามีพืชที่วิเศษที่เป็นแหล่งโอเมก้า 3 บริโภคแทนปลาจากทะเลน้ำลึกนั่นเอง
สารสกัดจากเมล็ดงาม้อนเป็นแหล่งของกรดไขมันจำเป็นคือ โอเมก้า 3 จากเวปไซด์ pantip.com ระบุว่า งาม้อนเป็นพืชชนิดเดียวที่มีโอเมก้า 3 ซึ่งในงาม้อน มีเปอร์เซ็นต์โอเมก้า 3 มากกว่าน้ำมันปลาจากปลาทะเลน้ำลึกหลายเท่า (ปลาแซลมอนอบขนาด 85.05 กรัม จะมีโอเมก้า 3 เพียง 2 กรัม คิดเป็นร้อยละ2.35 เท่านั้น
คุณพรรณผกา รัตนโกศล กับคุณยายมา อินถา ปลูกงาม้อนที่บ้านร่องเอี่ยน อ.ปง จ.พะเยา
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรน่าน ได้ส่งตัวอย่างงาม้อนที่กำลังทำการพัฒนาพันธุ์จำนวน 4 สายพันธุ์ไปที่บริษัทห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย จำกัด) เพื่อทำการวิเคราะห์ปริมาณน้ำมัน พบว่ามีปริมาณน้ำมันรวมร้อยละ 43 ถึงร้อยละ 55 และเป็นโอเมก้า 3 ถึงร้อยละ 11 ถึงร้อยละ 15 เมล็ดงาม้อนสีขาวขนาดใหญ่มีปริมาณน้ำมันรวมร้อยละ 43.1 เป็นโอเมก้า 3 ร้อยละ 15.01 งาม้อนเมล็ดสีน้ำตาลเข้มขนาดเล็ก มีปริมาณน้ำมันรวมร้อยละ 52.02 เป็นโอเมก้า 3 ร้อยละ 11.08 เมล็ดงาม้อนสีเทาอ่อนขนาดใหญ่มีปริมาณน้ำมันรวมมากที่สุดร้อยละ 55.83 เป็นโอเมก้า 3 ร้อยละ 12.73 ส่วนเมล็ดงาม้อนสีเทาอ่อนขนาดใหญ่มีปริมาณน้ำมันร้อยละ 44.94 เป็นโอเมก้า 3 ร้อยละ 13.54 แตกต่างกันไปตามแต่ละแหล่ง หรือแต่ละสายพันธุ์
งาม้อนได้ประโยชน์ทั้งใบและเมล็ด
คุณพรรณผกา กล่าวว่า ใบงาม้อนเป็นอาหารราคาแพงของเกาหลี การสกัดสารออกมาในรูปของน้ำมัน ทำได้จากเมล็ดและใบสด น้ำมันที่สกัดจากเมล็ดใช้ทำอาหารและยา น้ำมันที่สกัดจากใบใช้เป็นน้ำมันหอมระเหย (volatile oil) เป็นสารประเภท aldehyde เรียกว่า perilla aldehydeในญี่ปุ่นใช้เป็นสารแต่งรสชาติ isomer ของ perilla aldehyde ใช้เป็นสารแต่งกลิ่นอาหาร และมีสรรพคุณแก้เคล็ดขัดยอก ลดริ้วรอยบนใบหน้าบำรุงผิวหน้า นอกจากนี้น้ำมันหอมระเหยจากใบงาม้อนยังมีราคาถูกกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำมันกุหลาบ และมีศักยภาพที่จะสามารถใช้แทนที่น้ำมันหอมระเหยจากกุหลาบในอุตสาหกรรมเครื่องหอมอีกด้วย
คุณพรรณผกา กล่าวอีกด้วยว่า สารสกัดสำคัญในกลุ่ม polyphenol ที่ได้จากใบงาม้อนที่ได้รับความสนใจอย่างมากคือ rosmarinic acid มีฤทธิ์ต้านการแพ้และต้านการอักเสบได้ดี สารอีกตัวหนึ่งคือ luteolin แสดง ฤทธิ์ต้านการอักเสบและยับยั้งเซลมะเร็ง ปัจจุบันสารสกัดจากงาม้อนเริ่มมีบทบาทในแวดวงเครื่องสำอางมากขึ้น นอกเหนือจากบทบาทในการรับประทาน เพื่อประกอบอาหารบำรุงสุขภาพและรักษาโรคในต่างประเทศได้มีงานวิจัยนำใบงาม้อนมาสกัดสาระสำคัญคือ rosmarinic acid และพัฒนาเจลจากสารสกัดต้นงาม้อนที่ปลูกในประเทศไทยเพื่อใช้ในการรักษาโรคภูมิแพ้ ผิวหนังอักเสบ ซึ่งผลการศึกษาสามารถเป็นแนวทางในการพัฒนาสารสกัดใบงาม้อนเพื่อเพิ่มศักยภาพ ของงาม้อนที่ปลูกในประเทศไทย นอกจากนี้คุณศิริวรรณ อำพันฉาย และคณะ ได้ศึกษาผลของสภาพการเก็บรักษาที่มีต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์งาม้อนในปี 2551จากเมล็ดพันธุ์ 4 แหล่ง คือ จังหวัดน่าน เชียงราย แม่ฮ่องสอนและพะเยา พบว่าเมล็ดพันธุ์จากจังหวัดน่านมีคุณภาพสูง มีความชื้นต่ำร้อยละ 7.13ความบริสุทธิ์สูง ร้อยละ 99.63 ขณะที่เมล็ดพันธุ์จากแม่ฮ่องสอนมีปริมาณน้ำมันสูงกว่าร้อยละ 44.91 จะเห็นได้ว่า แหล่งผลิตมีผลต่อคุณภาพของเมล็ดงาม้อน
การสำรวจและรวบรวบรวมเมล็ดพันธุ์งาม้อน “ เราได้ทำการสำรวจการปลูกงาม้อนในเขตภาคเหนือตอนบนในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน พะเยา แพร่ และน่าน พบว่ามีการปลูกกระจายทั่วไปในพื้นที่ดอนและเชิงเขา ผลการสำรวจทั้งหมด 30 แหล่งผลิตงาม้อน 130 สายพันธุ์ มีความแตกต่างทั้งขนาดเมล็ดใหญ่ เล็กไม่เท่ากัน สีต่างกันตั้งแต่น้ำตาลอ่อนจนถึงน้ำตาลไหม้ สีเทาเข้ม เทาอ่อนจนถึงสีขาว ซึ่งมีปริมาณน้ำมันและโอเมก้า 3 แตกต่างกัน” เนื่องจากงาม้อน มีความหลากหลายทางพันธุกรรม ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรน่าน จึงได้ดำเนินการทดลองปลูกเพื่อคัดเลือกสายพันธุ์งาม้อนที่มีคุณภาพดีและมีผลผลิตสูง ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการ คาดว่า ปี 2555 – 2556 ศูนย์ฯ คงจะได้มีงาม้อนสายพันธุ์ดีที่จะแนะนำให้เกษตรกรปลูกเสริมรายได้ต่อไป
สนใจข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์วิจัย และพัฒนาการเกษตรน่าน ถ.น่าน – ทุ่งช้าง ต.ทุ่งช้าง อ.เมือง จ.น่าน 55000 โทรศัพท์ 054-682045, 081-2568251
ขอขอบคุณ คุณภาวิณี แก้วเกรียงไกร
Grace Herb And Nutraceutical ( Thailand ) Co;Ltd
www.graceherb.com