Pages Navigation Menu

สมาพันธ์การแพทย์แผนไทยล้านนา

การนวดอัตลักษณ์ล้านนา

 การนวดอัตตลักษณ์ล้านนา
(Thai Tradition massage of Lanna)

จุดเด่นของภูมิภาค 8 จังหวัดตอนบนที่เรียกขานติดปากและชินหู คือ “ดินแดนล้านนา” ที่รุ่มรวยไปด้วยวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติสืบทอดมามีตำนานและเรื่องเล่าไม่รู้จบ ตลอดจนแหล่งธรรมชาติที่สวย เงียบสงบ เป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้าสู่ภูมิภาค นั่นคือเงินตราและความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจมวลรวมของประเทศ
หนึ่งในวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของภูมิภาคโดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ คือ การนวดอัตตลักษ์ล้านนา ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านที่สืบทอดกันมายาวนานจนถึงทุกวันนี้
1. การย่ำขาง การนวดรักษาด้วยไอความร้อนจากขาง (ผลาไถนา) ที่เผาไฟจนร้อนเต็มที่ เหนียวนำความร้อนจากขางโดยหมอย่ำขางที่ชำนาญ ใช้เท้าย่ำขางเป็นสื่อนำความร้อนไปยังผู้ป่วยมียาที่ทำจากสมุนไพรที่กำกับด้วยเวทย์มนต์คาถาซ้ำสองลงไปด้วย ทำให้การรักษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2. ตอกเส้น การนวดรักษาแขนงหนึ่งของล้านนาแทนที่การใช้มือซึ่งต้องใช้พละกำลังในการนวดแต่ละครั้งมาก โดยใช้ไม้แทน (ไม้แก่นขาม ไม้เกล็ดดำ ไม้งิ้วดำ ไม้ผ้าผ่า) โดยใช้อาคมเสกกำกับลงเลขยันต์ไว้ เป็นการตอกลงที่เส้นได้ลึกกว่าและการขยายตัวของกล้ามเนื้อได้ดีกว่าการนวดสัมผัสแบบทั่วไป
3. การนวดกดจุดจับเส้นแบบอัตตลักษณ์ล้านนา หลังจากสอบถามอาการของคนไข้ หมอนวดจะเริ่มนวดเส้นแนวกระดูกสัน (เส้นสันธาน) หลังขึ้นลงก่อนขึ้นลงสามรอบในท่านั่ง แบ่งลักษณะอาการของผู้ป่วยออกเป็นสองท่อน คือ ท่อนล่าง จากเอวไปถึงปลาย ท่อนบนจากเอวถึงจุดจอมกระหม่อม แบ่งร่างกายเป็น ๘ ส่วน กดจุดจับเส้นให้พ้องกันทุกส่วนจึงจะได้ผลและมีประสิทธิภาพ
4. การนวดวิธีใดวิธีหนึ่ง นั้นอาจจะมียาที่ทำจากพืชสมุนไพร และเครื่องมือในการนวดอื่น ๆ ประกอบอยู่ด้วยเสมอ เช่น ลูกประคบ น้ำมันไพล ยาคลายเส้น ยารม (ยาฮม) น้ำมันงา ไม้ตอกเส้น ไม้แกะเส้น ฯลฯ

 

468 ad